บริการจัดส่งทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
 
ศูนย์จำหน่าย ปลีก-ส่ง สังฆภัณฑ์

                          
             
 เดินทางไปที่ร้าน คลิก
" บัวฉัตรสังฆภัณฑ์ "
เดินทางไปที่ร้าน คลิก
"บัวฉัตร สี่กั๊กเสาชิงช้า"
 
 

 

  1. ผ้าไตรจีวร หรือ ไตรครอง
  2. เครื่องบวช
  3. เครื่องกฐิน
  4. บาตร
  5. ตาลปัตรและขาตั้งตาลปัตร
  6. ถุงย่าม
  7. สัปทน
  8. หมอนอิง อาสนะ
  9. พานแว่นฟ้า ดอกไม้คลุมไตร
  10. ต้นเทียน กรวย
  11. เครื่องสแตนเลส
  12. บริขารธุดงค์
  13. พระพุทธรูป
  14. รูปเหมือน
  15. โต๊ะหมู่บูชา
  16. โต๊ะแต่งงานและชุดรดน้ำ
  17. หิ้งพระ
  18. ตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม
  19. ตู้พัดยศ
  20. ธรรมาสน์
  21. ระฆัง กลองเพล ฆ้อง
  22. ที่บรรจุพระธาตุแบบต่างๆ
  23. เครื่องตั้งศาล
  24. เครื่องสักการะ
  25. เทียนพรรษา
  26. เครื่องสังฆทาน เครื่องไทยธรรมต่างๆ
  27. งานดินประดิษฐ์
  28. งานประดับลวดลายไทย ปิดทองแท้
    ติดเพชร
  29. งานแก้วเป่า
  30. เครื่องทองเหลือง
  31. เครื่องเบญจรงค์ เครื่องมุกลาย
  32. เครื่องมุก
  33. เครื่องคริสตัล
  34. ตู้ครอบพระแบบต่างๆ
  35. ตู้บริจาค ตู้เซียมซี
  36. บุษบก
  37. โคมเวียนเทียน
  38. กระถางธูปไฟฟ้า - เชิงเทียนไฟฟ้า
  39. บายศรีแบบต่างๆ
  40. อื่นๆ
    

สังฆภัณฑ์

 
ทำบุญถวายสังฆทาน
 
        การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่า เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะสังฆทานเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่าต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน
 
        ของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นอาหาร และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร เช่น สบง จีวร ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ เครื่องกระป๋อง นม อาหารแห้ง เป็นต้น รวมถึง ชา กาแฟ โอวัลติน และเงิน ตามความจำเป็น ตามความพอใจของผู้ที่จะทำสังฆทาน ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ผู้ถวายทานก็มักจะบอก หรือเขียนชื่อ นามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ
 
        การทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้
 
อิมานิ มยงภันเต ภตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงคสส โอโณชยาม โร ภนเต ภิกขุ สงโฆ อิมานิ ภตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคณหาตุ อมหากํ ฑีฆรตตํ หิตาย สุขาย ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
พระสงฆ์จบจะ “สาธุ” แล้วก็ถวายของที่เป็นสังฆทานทั้งหมดให้ท่าน แล้วท่านก็จะให้ศีล ให้พร ยถา สัพพี ผู้ถวายสังฆทานก็กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญกุศล เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญถวายสังฆทาน
 
 
สังฆทานคืออะไร
 
        สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน
 
        มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าคือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นนั้น ส่วนการถวายทานที่ให้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นรูปนี้เรียก ปาฏิปุคคลิกทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าทานสองประเภทข้างต้น เพราะเป็นการจำกัดเฉพาะบุคคลว่าต้องเป็นคนนั้นคนนี้ การให้ทานแก่ส่วนรวมย่อมได้อานิสงส์มากกว่า
 
        คราวที่พระนางปชาบดีโคตมี พระแม่น้าของพระพุทธเจ้าปั่นฝ้ายทอเป็นจีวร แล้วนำไปย้อมตั้งใจถวายแด่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ ตรัสว่าให้ถวายแก่สงฆ์คือหมู่พระแทน พระนางเสียใจ แต่เมื่อทราบว่าถวายแก่สงฆ์มีผลมาก นางจึงคลายความเศร้าโศก
 
        พระสงฆ์บางรูป แม่ชีบางท่าน ฆราวาสบางคน ทำงานให้กับชุมชนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความคิดในทางสะสมเพื่อตัวเองไม่มี บางท่านก็เลี้ยงเด็กกำพร้า บางท่านทั้งเลี้ยงทั้งสอน เมื่อเราบริจาคทรัพย์ให้ท่าน ท่านก็ใช้ทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ไปกับกิจการช่วยเหลือสังคมที่ทำอยู่ ท่านเป็นเพียงคนกลางที่คอยแบ่งปันจากคนมั่งมีเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ขาดแคลน การทำบุญกับผู้ทำประโยชน์แก่ชุมชนนับเป็นสังฆทานที่ได้บุญไม่ใช่น้อย เพราะบุญได้แผ่ขยายกว้างออกไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ทุกข์ยากเหล่านั้นดีขึ้น และเป็นการช่วยสังคมไปด้วยในตัว
 
        เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึง "สังฆทาน" พวกเราจะนึกถึงถังสีเหลือง ๆ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้มากมาย จนล้นออกมาปากถัง แล้วมีพลาสติกใสหุ้มทับอีกที  แท้จริงแล้วของที่จะถวายหมู่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับชีวิตสมณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นถังเหลือง ๆ ที่วางขายตามหน้าร้านสังฆภัณฑ์เสมอไป แต่สำหรับ "สังฆทานถังเหลือง" ที่ชาวพุทธนิยมซื้อไปถวายพระสงฆ์นั้น ท่านทราบหรือไม่ว่ามีบางสิ่งบางอย่างไม่ชอบมาพากลอยู่ในนั้น เรามาดูซิว่าในถังสังฆทานสีเหลือง ๆ หนึ่งใบ มีอะไรอยู่ข้างในนั้นบ้าง
 
        "ถังเหลือง ๆ" ที่มีวางขายตามร้านสังฆภัณฑ์นั้น บางร้านจะยัดหนังสือพิมพ์หรือกระดาษแข็งเข้าไว้เต็มก้นถัง ส่วนที่เป็นสังฆทาน หรือข้าวของเครื่องใช้จริง ๆ จะถูกบรรจุไว้แถวขอบปากถังเพื่อให้ดูว่ามีของใช้มากมายจนล้นปากถัง แล้วเอาพลาสติกใสหุ้มอีกทีเพื่อไม่ให้ของล้นจนหก แท้จริงแล้วมีของใช้ไม่กี่อย่างเท่านั้นเอง
 
        ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุมักเป็นของคุณภาพต่ำ เช่น หางผงซักฟอก ธูปเทียนคุณภาพต่ำ แปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งโป๊ก ผ้าอาบน้ำฝนที่บางเบาจนน่าวิตกว่าพระนุ่งสรงน้ำเมื่อใดคงได้โป๊แต่ไม่เปลือยเมื่อนั้น หรือบางทีอาจเป็นผ้าอาบน้ำฝนสีเหลืองที่ใส่มาพอเป็นพิธีคือ ขนาดกว้างยาวไม่เกิน 1 เมตร ที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ น้ำปลาราคาถูกที่ดูออกว่าเป็นน้ำใส่สีละลายเกลือ ข้าวสารที่ใส่มาแค่ถุงเล็ก ๆ หยิบมือเดียวพอเป็นพิธีเหมือนกับผ้าอาบน้ำฝนที่ถูกใส่มา และบางครั้งก็เป็นเศษข้าวสารหัก ถ้าสังเกตดูดี ๆ บางถังจะมีเกลือป่นใส่มาให้เป็นสิบถุง ใส่เพื่อเกลือป่นจะได้กินพื้นที่เยอะ ๆ จะได้ไม่ต้องใส่ของใช้อื่นเพิ่มเติม เพราะเกลือป่นมีราคาถูก
 
        นอกจากนี้ข้าวของที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ก็มีใบชารสเข้มข้นที่ความเป็นจริงแล้วพระและสามเณรไม่ค่อยชงฉันกันเลย และมักจะถูกทิ้งไปอย่างไม่ได้ประโยชน์ น้ำบรรจุขวดที่มีกลิ่นผงซักฟอกอันเนื่องมาจากการบรรจุอยู่ในถังที่อับพร้อมด้วยผงซักฟอก 1 กล่อง เมื่ออากาศร้อนทำให้กลิ่นของผงซักฟอกเข้าไปในขวดน้ำ กลายเป็นน้ำที่มีกลิ่นผงซักฟอกไม่เหมาะแก่การบริโภคในเวลาต่อมา กล่องสบู่ก็เป็น "บริขารล้นวัด" อีกชิ้นหนึ่ง มีกล่องหนึ่งก็ใช้ได้เกือบตลอดชีวิตของการเป็นพระ ไม่จำเป็นต้องถวายบ่อยก็ได้ ได้มาก็ล้นวัดไม่รู้จะเอาไปไว้ไหนดี
 
        ความไม่ชอบมาพากลของ "สังฆทานถังเหลือง" เกิดจากความที่เราไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรไปถวายพระดี เลยต้องอาศัยเครื่องสังฆทานที่มีจำหน่ายตามร้านบรรจุให้สำเร็จรูป เพื่อจะได้ไม่ต้องเล่นเกมเดาใจพระ อีกทั้งการบรรจุถังก็ทำมาให้เรียบร้อยสวยงาม ซื้อปุ๊บก็ถือไปถวายปั๊บ เข้ากับยุคสมัยบริโภคนิยมพอดี ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหามาประกอบให้ลำบาก
 
        แต่ความที่คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ก็เลยเป็นช่องว่างที่เปิดโอกาสทองให้กับร้านค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ คนซื้อไม่มีทางรู้หรอกว่า "สังฆทานถังเหลือง" ที่ซื้อไปถวายพระ ข้างในมีของที่จำเป็นสำหรับพระจริง ๆ สักกี่อย่าง มีของที่มีคุณภาพมากแค่ไหน หรือมีจำนวนสิ่งของที่คุ้มกับราคาที่ร้านค้าตั้งไว้หรือไม่
 
        ส่วนพระสงฆ์นั้นเล่า เมื่อรับประเคนสังฆทานเสร็จ โยมลากลับ เปิดถังออกดูเจอแต่สิ่งของที่ใช้ได้เพียงไม่กี่ชิ้น ซ้ำของบางอย่างก็ไม่มีคุณภาพดีพอ บ่อยครั้งที่พระท่านต้องจ่ายปัจจัยไปซื้อหามาใช้เอง หรือบางครั้งก็มีแต่ม้วนกระดาษชำระใส่มาเต็มใต้ถัง หรือมีแต่เกลือถุงเล็ก ๆ หลายสิบถุง หรืออย่างที่หนังสือพิมพ์เคยลงข่าวว่ามีหนังสือโป๊ใส่มาในถังสังฆทานด้วย จะบอกให้โยมรับรู้แต่โยมก็กลับบ้านไปเสียแล้ว
ถวายสังฆทานอย่างไรให้ได้บุญ
 
        ถึงเวลาต้องมาทบทวนการทำสังฆทานกันเสียที สังฆทานที่ดีไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมายขอเพียงเป็นของจำเป็น และมีคุณภาพเท่านี้ก็พอ และการเลือกซื้อของมาประกอบเป็นสังฆทานเองจะได้ของดีมีคุณภาพกว่าการไปซื้อ "ถังเหลือง ๆ" ตามร้านสังฆภัณฑ์

จัดสังฆทานให้ได้ประโยชน์ ข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อหามาจัดเป็นสังฆทานได้
  • สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาด และระงับกลิ่นกาย
  • ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรก็น่าสนใจ
  • แปรงสีฟัน เลือกชนิดขนแปรงอ่อน ๆ จะได้สบายเหงือก
  • ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น
  • ใบมีดโกน เป็นของจำเป็นมาก เพื่อใช้โกนศีรษะ
  • ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด
  • เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง ขิงผง ชารางจืด มะตูม เดี๋ยวนี้ผลิตออกมาหลายประเภท หรือจะใส่เครื่องดื่มรสช็อกโกแลตก็ได้ อย่าลืมดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย
  • ผ้าอาบน้ำฝน เลือกที่เนื้อหนา ๆ หรืออาจเลือกซื้อเป็นสบง (ผ้านุ่ง) หรือจะเป็นอังสะก็ได้ เพราะพระท่านมักจะมีผ้าอาบน้ำฝนอยู่มากแล้ว จะขาดแคลนก็คือสบง อังสะ ถ้าถวายให้สามเณรก็จัดเหมือนพระเช่นกัน
  • ถวายสังฆทานแม่ชี ก็เปลี่ยนจากผ้าเหลืองเป็นชุดแม่ชี ซึ่งหาซื้อได้จากวัดบวรนิเวศหรือที่สถาบันแม่ชีไทย หากหาซื้อไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นผ้าขาวเนื้อดีตามร้านขนาด 2-4 เมตรแทน จากนั้นแม่ชีท่านจะนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าถุง ผ้าครอง ตามสมควร
  • หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่าง ๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อนำไปบอกกลาวแก่ญาติโยมได้
  • ยาสมุนไพรต่าง ๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน
  • เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ รวมทั้งซองจดหมาย แสตมป์
  • ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับวัดชนบทและวัดป่า
  • จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้น ๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายเป็นของสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ เหล่านี้ก็สามารถจัดถวายเป็นสังฆทานได้เหมือนกัน
  • ของอื่น ๆ ที่มักนิยมใส่ก็มี ข้าวสาร หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำตาล เกลือ ที่จัดว่าเป็นของแห้งเก็บไว้ได้นาน ของเหล่านี้ถ้าพระท่านใช้ไม่ทัน ท่านก็มักจะเก็บรวบรวมนำไปบริจาคต่างจังหวัดอีกที นับเป็นวงจรบุญไม่มีที่สิ้นสุด

จัดเรียงข้าวของที่ซื้อมาลงในภาชนะซักผ้าที่ซื้อมาต่างหาก อาจจะเป็นถังหรือกะละมังก็ได้ แล้วนำไปถวายได้ทันที

ของที่ควรลดละเลิกในสังฆทาน ข้าวของบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาประกอบเป็นสังฆทาน
- บุหรี่ ยาเสพติด เครื่องดื่มชูกำลังทุกประเภท
- ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
- อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้
- ใบชา พระไม่ค่อยได้ชงฉัน ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรให้ประโยชน์กับสุขภาพมากกว่า
- กล่องสบู่ ปกติพระท่านมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อถวายอีก
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสดและมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย
- น้ำอัดลม น้ำที่ผ่านการปรุงแต่งใส่สี

Copyright © 2012 Buachatrsangkapan. All Rights reserved. | Tel. 081 890 8801 , 02 222 4301 | Email : buachatr@hotmail.com, buachatr.anu@gmail.com